top of page

   โปรตีนเป็นอาหารที่มีความสำคัญมากต่อร่างกาย เนื่องจากโปรตีนเป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง เลือด เอ็น อวัยวะ เส้นผม เล็บ เส้นผม เป็นต้น โปรตีนช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อช่วยในการเจริญเติบโต รักษาสมดุลของน้ำ นอกจากนี้ โปรตีนยังเป็นส่วนประกอบของเอ็นไซม์และฮอร์โมนที่ช่วยให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยสร้างภูมิคุ้นกันให้แก่ร่างกายอีกด้วย

  ในร่างกายคนเราต้องการโปรตีนตามมาตรฐานทั่วไปคือต้องการโปรตีนวันละประมาณ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แหล่งอาหารที่สำคัญของโปรตีนได้แก่ เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วเหลือง นอกจากนี้ยังพบโปรตีนในผักและธัญพืชยางชนิดและโปรตีนยังเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานในการประกอบกิจกรรมต่างๆ อีกด้วย

   โปรตีนเป็นสารชีวโมเลกุลชนิดหนึ่งที่มีธาตุคาร์บอน ออกซิเจน ไฮโดรเจน และ ไนโตรเจน เป็นองค์ประกอบสำคัญ และบางชนิดอาจมีธาตุกำมะถัน ฟอสฟอรัส เหล็ก หรือ สังกะสั ร่วมอยู่ด้วย ธาตุเหล่านี้รวมตัวกันเป็นโมเลกุลของ กรดอะมิโน (amino acid) ซึ่งเป็นหน่วยย่อยที่สุดของโปรตีน กรดอะมิโนจะเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเคมี เกิดเป็นโมเลกุลโปรตีนซึ่งมีขนาดใหญ่มาก และมีโครงสร้างซับซ้อน



  โครงสร้างทางกายภาพของโปรตีนแต่ละชนิดมีความสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ของโปรตีนนั้นๆ เมื่อโปรตีนได้รับความร้อนหรือสัมผัสกับสารละลายกรด เช่น น้ำส้มสายชู หรือสัมผัสกับสารละลายเบส เช่น สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือสัมผัสกับไอออนของโลหะหนัก เช่น ไอออนของตะกั่ว หรือตัวทำละลายบางชนิด เช่น เอทานอล จะทำให้โครงสร้างทางกายภาพของโปรตีนถูกทำลาย โปรตีนจึงเปลี่ยนสภาพไปไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิมเรียกกระบวนการนี้ว่า การแปลงสภาพโปรตีน (denaturation of protein)



สรุป

  โปรตีนมีอยู่ในเนื้อสัตว์ทุกประเภท ไข่ขาว นมสด และนมถั่วเหลือง ก็เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง เมื่อเรารับประทานอาหารประภทโปรตีน ร่างกายยังนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ทันที เพราะโปรตีนเป็นสารที่มีโมเลกุลใหญ่มาก เอนไซม์ในร่างกายจะช่วยย่อยสลายโมเลกุลของโปรตีนให้เล็กลงได้กรดอะมิโนซึ่งเป็นโมเลกุลเล็กที่สุดที่ร่างกายสามารถดูดซึมผ่านผนังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป สารอาหารโปรตีนไม่สามาถแทนได้ด้วยสารอาหารชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นไขมันหรือคาร์โบไฮเดรต ดังนั้นเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดโปรตีนจีงควรเลือกรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วน เพื่อสุขภาพที่ดี

©2012 by thanatcha chatnoi m.4/5  for science 
  • facebook-square
  • twitter-square
  • youtube-square
bottom of page